วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

สาเหตุที่เสริมจมูกแล้วเอียงเกิดจากอะไรบ้าง?

          หลายท่านที่ผ่านการเสริมจมูกที่ได้รับประสบการณ์การผ่าตัดมากว่า 1 ครั้ง เพราะด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น จมูกไม่โด่งเท่าที่ต้องการ แผลเกิดการอักเสบ หรือเกิดปัญหาจมูกเอียง ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายๆ ท่านอาจประสบมากแล้ว การเสริมจมูกแล้วเกิดการเอียงของแท่งซิลิโคนหรือมีการเคลื่อนไม่ตรงตามตำแหน่งที่วางไว้ มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการเอียง ได้แก่
  1. แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดนั้นขาดประสบการณ์ หรือผลการผ่าตัดไม่เป็นไปตามที่คาดหวังมากนัก 
  2. ซิลิโคนแท่งเสริมจมูกมีความเหมาะสมกับจมูกหรือไม่ ซึ่งการเหลาซิลิโคนแท่นนั้นจะต้องมีการพิจารณาจากโครงจมูกเพื่อให้มีความเหมาะสม
  3. การจัดวางซิลิโคนแท่นให้อยู่ในช่องที่มีขนาดที่เหมาะสม คืออยู่ใต้เยื่อหุ้มกระดูกจมูก
  4. การดูแลหลังการผ่าตัดเสริมจมูกของผู้ป่วยในระยะเดือนแรก เนื่อกจากแท่งซิลิโคนยังไม่ติดแน่นกับกระดูกจมูก ซึ่งทำให้ซิลิโคนสามารถเคลื่อนตัวออกตากตำแหน่งที่วางไว้ได้ตลอดเวลา หรือหากมีการกระแทกทำให้ซิลิโคนเคลื่อนผิดตำแหน่งได้ 
         อย่างไรก็ตามก่อนทำการเสริมจมูกคุณควรมีการปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเกิดปัญหาหลังการผ่าตัด เพื่อให้ทราบถึงแผนการรักษา ซึ่งหากเกิดปัญหาการเอียงในระยะแรกสามารถดัดให้เข้าที่ได้โดยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดเลย แต่หากไม่สามารถดัดได้ก็อาจจะต้องทำการผ่าตัดอีกครั้งเพื่อจัดวางซิลิโคนให้เข้าที่ตามตำแหน่งที่ถูกต้องต่อไป

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของการตรวจการนอนหลับ

        การตรวจการนอนหลับเป็นการตรวจสำคัญที่ใช้เพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายระหว่างนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจและกล้ามเนื้อ รวมไปถึงศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะหลับด้วย ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นการตรวจมาตรฐานสากลสำหรับการวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น รวมถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ และพฤติกรรมทิ่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เป็นต้น
อาการสำคัญที่ควรตรวจการนอนหลับ ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหานอนกรนดังผิดปกติ หรือมีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปกติ ทั้งๆ ที่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ, ผู้ที่มีอาการหายใจลำบากและสงสัยว่าจะมีการหยุดหายใจขณะหลับ หรือผู้มีพฤติกรรมการนอนผิดปกติ เช่น นอนแขนขากระตุก นอนกัดฟัน หรือนอนละเมอ เป็นต้น
การตรวจการนอนหลับมาตรฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของโรค ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น ซึ่งจะมีผลต่อการวางแผนและการตัดสินใจทางเลือกในการรักษา และยังใช้พิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดทางเดินหายใจและใช้ติดตามผลการรักษา ตลอดจนช่วยในการวินิจฉัยโรคความผิดปรกติอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการนอนได้อีกด้วย