วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

อาหารต้านมะเร็งต่อมลูกหมาก

          มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ต่อมลูกหมากที่ผิดปกติ ทำให้ต่อมลูกหมากโตขึ้น อาจพบได้ในชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยจะปัสสาวะบ่อยกว่าปกติและเริ่มปัสสาวะลำบากขึ้น ทำให้ต้องเบ่งมากขึ้น อาจปัสสาวะออกมาเป็นเลือดหรือมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น คาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์และอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสัตว์ แต่ในปัจจุบันพบว่ามีสารอาหารบางตัว ที่สามารถต้านมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ได้แก่
  • มะเขือเทศ เนื่องจากมะเขือเทศมีไลโคปิน ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระฤทธิ์แรง ช่วยป้องกันกระบวนการเสื่อมของเซลล์ต่อมลูกหมากได้ดี โดยเฉพาะมะเขือเทศที่ถูกทำให้สุกที่จะทำให้ไลโคปินถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่า นอกจากนี้ผลไม้อื่นๆ เข่น แตงโม ฝรั่ง สับปะรด ก็ยังมีไลโคปินอยู่ด้วย
  • ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑืจากถั่วเหลือง มีสารไอโซฟลาโวนซึ่งสามารถปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศในร่างกายสู่สมดุล เนื่องจากไอโซฟลาโวนจะทำให้การกระตุ้นของสารเทสโตสเตอโรนที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยลง จึงสามารถลดอัตราเสี่ยงของโรคต่อมลูกหมากได้   
  • ชาเขียว มี EGCG (epigallocatechingallate) ซึ่งต้านการเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีรายงานว่าสารสกัดจากชาเขียวเข้มข้นสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งของต่อมลูกหมากได้ หมายความว่าต้องกินสารสกัด EGCG เป็นเม็ด ไม่ใช่แค่ดื่มชาเขียวเท่านั้น
  • กะหล่ำและพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กะหล่ำม่วง บร็อกโคลี หัวผักกาด เป็นต้น เหล่านี้มีสารตั้งต้นของกลูต้าไธโอน สามารถกระตุ้นการขับสารพิษของตับ และต้านมะเร็งได้หลายตัวรวมทั้งมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • กระเทียม มีกำมะถันสูง จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กระเทียมสามารถป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้
  • เมล็ดฟักทอง มีสังกะสีสูงมากพอจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ดี

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

ลดภาวะแทรกซ้อนของหวัดโดยการใช้ผ้าปิดจมูก

              สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด จะต้องดูแลตัวเองให้ดีเป็นพิเศษ เพื่อไม่ไปแพร่กระจายเชื้อหรือแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ดังนั้นหากทราบแล้วว่าตนเองเกิดอาการเหมือนจะเป็นไข้ก็ควรพกผ้าปิดจมูก หรือสวมใช้ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อขณะ พูด ไอ จาม เพราะไข้หวัดสามารถติดต่อกันได้ทางการหายใจ ดังนั้นการใช้ผ้าปิดจมูกก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันไข้หวัดได้ สำหรับอาการของผู้ป่วยที่พบคือ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม ปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว และสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดธรรมชาติและเป็นไข้หวัดใหญ่

ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด
  • น้ำตาไหล กลัวแสง หนังตาบวม เยื่อบุตาอักเสบ 2. 
  • ปวดหู หูน้ำหนวก 3. 
  • หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ 4. 
  • ปอดบวม 
ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่
  • หูน้ำหนวก 2. 
  • หลอดลมอักเสบ 3. 
  • ปอดบวม ปอดอักเสบ 4. 
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 5. 
  • สมองอักเสบ

10 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการดูดไขมัน

           ก่อนที่สาวๆ จะไปกำจัดไขมันส่วนเกินโดยการดูดไขมันนั้น สาวทราบข้อมูลและศึกษาก่อนทำหรือไม่ หรือศึกษามากน้อยแค่ไหน อยากเตือนสาวๆ อย่างเพิ่มรีบร้อนกันไป ควรทราบ 10 สิ่งที่สาวๆ ควรรู้เกี่ยวกับการดูดไขมัน ดังนี้
  1. การดูดไขมันไม่ใช่เป็นการลดน้ำหนัก และสามารถดูดได้เฉพาะจุด หรือเรียกง่ายๆ ว่าลดแค่บางจุด เช่น ต้นขา เอว สะโพก หน้าท้อง นั้นเอง
  2. การดูดไขมัน จะทำให้เซลล์ไขมันของคุณหายไป แต่ไขมันส่วนอื่นอาจจะเพิ่มมาแทน
  3. ไขมันจะไปเพิ่มที่อื่นแทน แน่นอนว่าไขมันจะไม่กลับเข้าไปสะสมอยู่ที่เดิมที่ถูกดูดออกมา
  4. ทราบหรือไม่ว่า ไขมันที่ดูดออกมานั้นสามารถนำไปเพิ่มส่วนอื่นได้ โดยการฉีดกลับเข้าไปในอวัยวะส่วนอื่นๆ ตั้งแต่ริมฝีปาก จรดอวัยวะเพศ…!
  5. ผู้หญิงสามารถดูดไขมันได้ดีกว่าชาย เพราะไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายของเพศชายดูดได้ยากกว่าและต้องใช้เวลานานกว่าผู้หญิง
  6. การสลายไขมันด้วยวิธีทำสปา Cryolipolysis (Cool Sculpting) ซึ่งเป็นการสลายไขมันด้วยความเย็น ก็สามารถทำได้
  7. การใช้เทคโนโลยีการดูดไขมัน ซึ่งเป็นการประยุกต์คลื่นเสียงความถี่สูงมาใช้ ด้วยการใช้สัญญาณเสียงส่งผ่านไปที่ปลายท่อยาว และทำให้เซลล์ไขมันแบบหนาแน่นเช่น ในส่วนหน้าอกและหลัง
  8. ดูดแล้วผลอยู่นานขึ้น ถ้าปฏิบัติตนถูกต้อง ระยะพักฟื้น มีการดูแลตัวเองใช้ผ้ายืดรัดกระชับรูปทรง และลดความเร็วในการเคลื่อนไหว เพื่อไม่ให้เกิดแผลเป็น เกิดลิ่มเลือดและเลือดคั่งได้ และควบคุมอาหาร
  9. อาจมีผลข้างเคียงขึ้นได้แพทย์ไม่มีความชำนาญและไม่มีประสบการณ์ เช่น การเกิดรอยไหม้ของไขมัน การอุดตันของลิ่มเลือดที่ปอด และอาการช็อคที่เกิดจากการทดแทนน้ำที่ไม่เหมาะสม
  10. ควรมีการตรวจสอบสถานบันการแพทย์ที่เราจะไปดูดไขมันว่ามีความน่าเชื่อมากน้อยแค่ไหน อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น Marella O’Reilly CEO ของ HPCSA (Health Professions Council of South Africa) องค์กรผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของคอนแทคเลนส์

          คอนแทคเลนส์จะถูกแบบออกตามการใช้งาน ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. รุ่นถาวร ( Conventional ) จะมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามปริมาณการอมน้ำและความหนา ได้แก่
1. Daily Wear  เป็นคอนแทคเลนส์รุ่นที่ใส่ถอดทุกวัน สามารถใส่ได้นานถึง 12 ชั่วโมงต่อวันแต่ไม่
สามารถใส่นอนได้ เลนส์ขนิดนี้มีการอมน้ำน้อย 0-38%

2. รุ่นใช้แล้วทิ้ง ( Disposable ) จะมีอายุการใช้งานสั้น เช่นรายวันและรายเดือน
1.FLEXIBLE WEAR  คอนแทคเลนส์นิ่ม ใส่สบายตาและสามารถใส่ต่อเนื่อง 1 – 2 วัน ต่อสัปดาห์
เลนส์ชนิดนี้มีการอมน้ำปานกลาง 39-59%
2. EXTENDED WEAR เนื้อเลนส์นิ่ม ใส่สบายตา แต่จะพับติดกันง่ายและใส่ยาก สามารถใส่ต่อเนื่องได้ 2 – 3 วัน ต่อสัปดาห์ คอนแทคเลนส์ชนิดนี้อมน้ำมากถึง 60% ขึ้นไป

Disposable มี 3 ชนิด ดังนี้ แบ่งตามอายุการใช้งาน
1.รายวัน ( ONE DAY / 2 DAY ) อายุการใช้งาน 1 –2 วัน
  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการแพ้น้ำยา 
  • ไม่ค่อยมีเวลาทำความสะอาดคอนแทคเลนส์
2. รายสัปดาห์ ( WEEKLY ) อายุการใช้งาน 2 สัปดาห์ ( 14 วัน )
3. รายเดือน ( MONTHLY ) อายุการใช้งาน 30 วัน ( 1 เดือน )